- ชิปประมวลผล MediaTek MT6572 Dual-core ความเร็ว 1 GHz มาพร้อม GPU เป็น Mali-400
- แรม 512 MB
- หน้าจอขนาด 3.5 นิ้ว ความละเอียด 480 x 320
- กล้องหลังความละเอียด 3 ล้านพิกเซล ไม่มีกล้องหน้า
- รองรับ 2 ซิม
- รองรับ 3G คลื่นความถี่ 900 (AIS) และ 2100 MHz (ใช้ได้ทุกเครือข่ายในอนาคต)
- Android 4.2.2 Jelly Bean สามารถใช้งาน Play Store เพื่อเข้าไปดาวน์โหลดแอพได้ตามปกติ
- แบตเตอรี่ความจุ 1500 mAh
- ราคา 2,590 บาท พร้อมโปรโมชันจาก AIS
- สเปค Acer Liquid Z3
ส่วนด้านล่างจอก็จะเป็นแถบของปุ่มกดแบบ capacitive ซ้ายสุดคือปุ่ม back ตรงกลางคือปุ่มโฮมที่หากกดค้างไว้จะเป็นการเปิดใช้งาน Google Now ส่วนปุ่มขวาสุดคือปุ่ม Recent Apps ครับ
ส่วนด้านล่างก็เป็นตำแหน่งของลำโพง โดยจุดที่น่าสนใจที่สุดก็คือโลโก้ dts ครับ เพราะนั่นหมายถึงว่า Acer Liquid Z3 มาพร้อมกับระบบเสียง DTS ในตัวนั่นเองครับ จัดว่าน่าสนใจทีเดียวกับสมาร์ทโฟนราคาไม่ถึง 3,000 บาท แต่มาพร้อมระบบเสียงคุณภาพที่มีเพียงไม่กี่รุ่นในตลาดเท่านั้นที่ใช้งานระบบ เสียง DTS ซึ่งจากที่รีวิว Acer Liquid Z3 มา ไม่ว่าจะทั้งฟังเพลงจากลำโพงของเครื่องหรือจากหูฟัง พบว่าเสียงอยู่ในระดับที่น่าพอใจทีเดียว แถมยังมีทูลปรับแต่งอย่าง DTS Sound ที่สามารถปรับระดับเสียง Equalizer, Bass และ Treble ได้ตามใจชอบ ช่วยให้ฟังเพลงได้สนุกดีเลย และแน่นอนว่าสามารถฟังวิทยุ FM ได้ด้วย แต่ต้องเสียบหูฟังด้วยนะครับ
เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องฝาปิดจอหน่อยนะครับ ภายใต้ฝาไม่ได้มีการฝังแถบแม่เหล็กใดๆ ไว้ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้การปิดฝาจอเพื่อปิดหน้าจอ รวมไปถึงไม่สามารถเปิดฝาจอออก แล้วให้จอเปิดขึ้นมาเพื่อใช้งานได้ทันที ตัวฝาปิดจอมีหน้าที่แค่ “ปิดคลุมหน้าจอ” จริงๆ นะครับ ไม่ได้มีฟีเจอร์สั่งงานพิเศษใดๆ
Basic Mode (ซ้ายบน)
เป็นโหมดที่ออกแบบมาสำหรับให้เด็กใช้ โดยบนหน้าจอจะมีไอคอนที่เราสามารถตั้งค่าเบอร์และชื่อผู้ติดต่อที่เราอยากจะ ให้เด็กโทรออก เช่น พ่อ แม่ ครู เป็นต้น ซึ่งการโทรออกก็ง่ายมาก เพียงแค่กดที่รูปไอคอน ก็จะสามารถกดโทรออกได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องกดเบอร์หรือหาจากสมุดรายชื่อ นอกจากนี้ยังสามารถส่ง SMS แบบฉบับเดียว หรือจะส่งแบบ forward ไปหลายๆ ฉบับพร้อมกันก็ยังได้
Senior Mode (ขวาบน)
โหมดนี้ออกแบบมาสำหรับให้ผู้สูงอายุใช้งาน เนื่องด้วยมีการจัดเรียงไอคอนบนหน้าจอเป็นแอพพลิเคชันที่จำเป็น เช่นการส่ง SMS, ฟังวิทยุ FM, ข้อมูลสภาพอากาศ, แว่นขยายสำหรับช่วยอ่านหนังสือ (ก็คือการเปิดใช้งานกล้องถ่ายรูปนั่นเอง) และแน่นอนว่าจะมีไอคอนทางลัดสำหรับโทรออกคล้ายกับใน Basic Mode ด้วย แม้ว่าเราอาจจะเห็นว่ามีแค่ 3 ไอคอน แต่อันที่จริงแล้ว เราสามารถเลื่อนแถบไอคอนแถวนั้นไปซ้าย/ขวาได้ โดยเราสามารถตั้งค่าเบอร์โทรได้สูงสุด 10 เบอร์ด้วยกัน หรือถ้าต้องการจะกดเบอร์ตามแบบปกติ ก็สามารถกดที่ไอคอนรูปโทรศัพท์ด้านล่างได้เช่นเคย
Keypad Mode (ซ้ายล่าง)
สำหรับผู้ที่เพิ่งเปลี่ยนจากฟีเจอร์โฟนมาใช้งานสมาร์ทโฟนเป็นครั้งแรก น่าจะเหมาะกับโหมดนี้ครับ เพราะจะมีการแสดงปุ่มตัวเลขให้สามารถกดใช้ได้เลยตั้งแต่หน้าแรก พร้อมกับยังมีไอคอนแอพจำเป็นมาให้ใช้งานอีกด้วย ซึ่งก็น่าจะช่วยปรับรูปแบบการใช้งานจากฟีเจอร์โฟนมาเป็นสมาร์ทโฟนได้ในระดับ หนึ่ง
Classic Mode (ขวาล่าง)
ส่วนโหมด Classic ก็เป็นการใช้งานในรูปแบบสมาร์ทโฟนนี่ล่ะครับ แต่จะจัดเรียงไอคอนแอพเป็นหมวดหมู่ให้สามารถค้นหาได้ง่าย เช่นแบ่งเป็นหมวด Utilities, Social, Internet, Media, Info Center ทั้งรูปแบบการใช้งานก็สามารถทำได้เหมือน Android หน้าตาปกติ เช่นสามารถโหลดแอพจาก Play Store ได้ด้วย เหมาะสำหรับคนที่อยากใช้สมาร์ทโฟนแบบง่ายๆ แถมอินเตอร์เฟสก็ดูใหญ่ สบายตา รับรองว่าใช้ได้กับทุกวัยแน่นอน
สำหรับใครที่กลัวว่า ตั้งค่า Quick Mode ให้กับคนที่เราซื้อ แล้วเขาจะไปกดเปลี่ยนโหมด เปลี่ยนการตั้งค่าตามใจชอบ อันนี้ก็หมดห่วงไปได้เลยครับ เพราะถ้าหากใช้งาน Quick Mode อยู่ แล้วต้องการจะปรับการตั้งค่า ก็จำเป็นจะต้องใส่รหัสผ่าน 4 ตัวก่อนทุกครั้ง ซึ่งรหัสผ่านชุดนี้ ระบบจะบังคับให้ตั้งเอาไว้ตั้งแต่เปิดใช้งาน Quick Mode ครั้งแรกอยู่แล้ว