วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ระวังภัยSMS ‘ไวรัส’มือถือ เสียตังค์หลายพันไม่กี่นาที

ครอบครัวข่าวเช้า
     รายการครอบครัวข่าวเช้า รายงานตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่า ระวังภัยโจรไฮเทคอย่าหลงกลเปิดข้อความทางโทรศัพท์มือถือ เปิดเผยเมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 24 ส.ค. พ.ต.อ.ธนวัตร วัฒนกุล ผกก.สน.โชคชัย เตือนประชาชนที่ใช้โทรศัพท์มือถือให้ระวังไวรัสที่ส่งผ่านมาทางเอสเอ็มเอส (SMS) มีข้อความระบุชื่อตนเอง หากเปิดเข้าไปดูข้อความก็จะส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์อื่นๆ ต่อไปเป็นทอดๆ โดยอัตโนมัติ ทำให้ผู้ตกเป็นเหยื่อต้องเสียเงินค่าโทรศัพท์หลายพันบาทเพียงเวลาไม่กี่นาที
พ.ต.อ.ธนวัตรกล่าวถึงที่มาของเอสเอ็มเอสว่า เมื่อวันที่ 22 ส.ค. เวลาประมาณ 18.00 น. ได้รับเอสเอ็มเอสจากเบอร์โทรศัพท์มือถือหมายเลขหนึ่ง ระบุข้อความว่า “ผกก.ธนวัตร แจ้งให้ทราบการจัดส่งของคุณ http://goo.gl/4cGRSf” พอเปิดเข้าไปดูก็ไม่พบข้อมูลใดๆ ไม่นานนักก็มีคนโทร.มาสอบถามหลายสาย เกี่ยวกับข้อความที่ได้รับจากเบอร์มือถือของตนจำนวนกว่า 15 ครั้ง หลังเช็คกล่องข้อความในโทรศัพท์ พบว่ามีการส่งต่อข้อความดังกล่าวไปประมาณ 94 ครั้ง ตนตกใจมากทั้งๆที่ไม่ได้กดส่งข้อความเลย แต่กลับระบุชื่อตนเป็นผู้ส่ง พอ โทร.ไปหาเจ้าของเบอร์โทรศัพท์ที่ส่งข้อความมาทีแรก เจ้าของเครื่องก็ยืนยันไม่ทราบว่า ข้อความส่งไปได้ยังไง
พ.ต.อ.ธนวัตรกล่าวต่อว่า ขอเตือนประชาชนที่ได้รับข้อความส่งทางเอสเอ็มเอสระบุชื่อตน หรือข้อความอื่นๆ มีลิงก์ระบุต่อท้ายว่า “http://goo.gl/” เมื่อ กดเข้าไปแล้วจะไม่ปรากฏข้อความใดๆ แต่กลับมีการส่งข้อความดังกล่าวไปยังโทรศัพท์อื่นๆ หลายเบอร์อย่างอัตโนมัติโดยเจ้าของไม่รู้เรื่อง ถือว่าเป็นภัยชนิดใหม่สร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของโทรศัพท์ เพราะถ้าติดไวรัสตัวนี้ต้องนำโทรศัพท์ไปล้างข้อมูลทั้งหมดออกจึงจะหาย อาจต้องเสียค่าบริการในการส่งเอสเอ็มเอสจำนวนมาก
Image 15
ด้าน นายกฤษฎา พรหมสุข อายุ 36 ปี พนักงานบริษัทคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง กล่าวว่า ไม่เคยรู้จัก พ.ต.อ.ธนวัตร และไม่ทราบเบอร์โทร.ของผู้กำกับด้วย ไม่เคยส่งข้อความเลยไม่ทราบว่า ข้อความส่งไปถึง พ.ต.อ.ธนวัตรได้อย่างไร ทั้งนี้เคยได้รับเอสเอ็มเอสมีข้อความระบุว่า “เราได้จัดส่งสินค้าให้ท่านแล้ว รายละเอียด http://goo.gl/INtB8hD” วันที่ 13 ส.ค. แต่ไม่ได้สนใจ ต่อมาวันที่ 22 ส.ค. มีข้อความส่งมาอีกระบุว่า “คุณต้องคดีความ ต้องการรายละเอียด http://goo.gl/LotD7JQ” จึงตกใจรีบกดเปิดเข้าไปอ่านแต่ไม่มีข้อความใดๆ ต่อมาก็มีข้อความเด้งขึ้นมากว่า 200 ครั้ง กระทั่งมีคนโทร.มาถามกว่า 20 สาย เกี่ยวกับข้อความที่ส่งไป จากการสอบถามไปที่ศูนย์บริการทราบว่ามีการส่งข้อความกว่า 380 ครั้ง ภายในไม่เวลากี่นาที ทั้งๆที่ไม่เคยใช้บริการเอสเอ็มเอส ขณะนี้ตนไม่ได้รับบิลเสียค่าบริการ ส่วนทางศูนย์บริการแจ้งว่า ยังไม่ทราบว่าต้องจ่ายค่าส่งเอสเอ็มเอสหรือไม่ เนื่องจากติดวันหยุดราชการ และต้องเสนอเรื่องให้ผู้บริหารพิจารณาก่อน

ที่มา http://ch3.sanook.com

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 29


โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 29 นำเสนอข่าวโดยทีมงาน Sanook.com (ขอบคุณที่มา)
วันนี้ (25 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.39 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และหัวหน้า คสช. ได้เดินทางเข้าทำพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ณ ห้องเลี้ยงรับรอง 221 อาคาร 2 กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) โดยพิธีดังกล่าวไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการณ์
สำหรับพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ นางนรรัตน์ พิมเสน เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้อัญเชิญพระบรมราชโองการฯ วางบนแท่น และอ่านพระบรมราชโองการฯ
ขณะที่ คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลค.) ได้เผยแพร่พระบรมราชโองการประกาศ เล่ม 131 ตอนพิเศษ 159 ง รายละเอียดดังนี้
ประกาศแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งตามมติของสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงมติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2557 เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

จึง ทรงพระราชดําริว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้ที่สมควรไว้วางพระราชหฤทัย ให้ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรี อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 19 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี บริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 24 สิงหาคม พุทธศักราช 2557 เป็นปีที่ 69 ในรัชกาลปัจจุบัน

ลงชื่อ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พรเพชร วิชิตชลชัย
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


รายชื่อ Black List บริษัทประกัน ( รถยนต์) 2557



สำหรับผู้ที่จะถอยป้ายแดงทั้งหลาย รวมทั้งที่ถอยแล้วมาป้ายไม่แดงแล้ว

รายชื่อ Black List บริษัทประกัน ( รถยนต์)
ข้อมูลจากบริษัท ทิสโก้ รู้ไว้ก็ดีนะ

จากนสพ.ผู้จัดการ

บ.ประกันดังกล่าวคือ

อันดับที่ 1. ลิเบอร์ตี้ประกันภัย มี ดร.พาชื่น รอดโพธิ์ทอง และพ.ต.ท.พงษ์ชัย วราชิต ถือหุ้นใหญ่

อันดับที่ 2. มิตรแท้ประกันภัย ( ไทยประสิทธิ์เดิม )

อันดับที่ 3. บ.สัมพันธ์ประกันภัย นายศรีศักดิ์ ณ นคร ถือหุ้นใหญ่

บ.ทั้ง 3 ข้างต้น อู่ต่างๆ ส่ายหน้าหนี
ไม่รับรถเข้าซ่อมเพราะเบี้ยวค่าซ่อมหลายร้อยล้านบาท
โดยลิเบอร์ตี้เป็นสุดยอดแห่งการเบี้ยว
ยังมีบ.ประกันภัยที่อยู่ในข่ายจะโดนอู่ต่าง ๆ ขึ้นบัญชีดำอีกคือ

อันดับ ที่ 4. บ.อาคเนย์ประกันภัย เพราะถึงแม้จะไม่ชักดาบแต่จะใช้วิธี 'HairCut ' คือจะต่อรองกับอู่ว่าจะจ่ายให้น้อยกว่าค่าซ่อมที่ค้างไว้
ซึ่งอู่ต่างๆ หลายแห่งก็ต้องยอม เพราะไม่อยากยุ่งยากเรื่องฟ้องร้อง

ยังมีอีกประเภท คือ จ่ายค่าซ่อมช้ามาก บางที่เป็นปีถึงจะชำระให้'ได้แก่

อันดับที่ 5. พัชรประกันภัย

และอันดับที่ 6. เอราวัณประกันภัย

อันดับที่ 7. พาณิชยการประกันภั!ย
บริษัทนี้ผมเพิ่งโดนสดๆร้อน รถชนมา 4 เดือนแล้วยังไม่ได้เริ่มแตะเลย
เนื่องจากว่าไม่มีเงินจ่ายให้อู่ซ่อม
พูดง่ายๆว่าจะเจ๊งแล้ว

ข้อมูลข้างบนนี้คงมีประโยชน์กับท่านที่กำลังมองหา บ.ประกันจะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลัง
เพราะจ่ายเบี้ยประกันแล้ว ใครๆ ก็อยากได้รับบริการที่ดี
ไม่มีตุกติก

สเปค Acer Liquid Z3


  • ชิปประมวลผล MediaTek MT6572 Dual-core ความเร็ว 1 GHz มาพร้อม GPU เป็น Mali-400
  • แรม 512 MB
  • หน้าจอขนาด 3.5 นิ้ว ความละเอียด 480 x 320
  • กล้องหลังความละเอียด 3 ล้านพิกเซล ไม่มีกล้องหน้า
  • รองรับ 2 ซิม
  • รองรับ 3G คลื่นความถี่ 900 (AIS) และ 2100 MHz (ใช้ได้ทุกเครือข่ายในอนาคต)
  • Android 4.2.2 Jelly Bean สามารถใช้งาน Play Store เพื่อเข้าไปดาวน์โหลดแอพได้ตามปกติ
  • แบตเตอรี่ความจุ 1500 mAh
  • ราคา 2,590 บาท พร้อมโปรโมชันจาก AIS
  • สเปค Acer Liquid Z3
ในด้านสเปค อาจจะไม่ใช่จุดเด่นของเครื่องนี้ซักเท่าไรนัก เนื่องด้วยถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานธรรมดาทั่วไปสำหรับกลุ่มผู้เริ่มต้น ดังนั้นในรีวิว Acer Liquid Z3 เราจะเน้นไปที่ฟีเจอร์มากกว่าความแรงของเครื่องนะครับ

ได้เวลาเปิดฝาพับแล้ว เมื่อเปิดออกก็จะพบกับตัวเครื่อง Acer Liquid Z3 ที่รูปทรงก็จะดูคล้ายสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นของ Acer โดยด้านบนเป็นตำแหน่งของลำโพงสนทนาและยังมีเซ็นเซอร์วัดระดับแสง สำหรับปรับความสว่างจออัตโนมัติอีกด้วย ซึ่งนับว่าน่าสนใจทีเดียว เพราะสมาร์ทโฟนรุ่นราคาประหยัดส่วนใหญ่จะไม่ได้ติดตั้งเซ็นเซอร์วัดความ สว่างเอาไว้ในตัว นอกจากนี้ยังมีหลอดไฟ LED แสดงสถานะอยู่ดวงเล็กๆ ด้วย ซึ่งจะแสดงสถานะของแบตเตอรี่เป็นหลัก เช่นขณะกำลังชาร์จอยู่ เป็นต้น
ส่วนด้านล่างจอก็จะเป็นแถบของปุ่มกดแบบ capacitive ซ้ายสุดคือปุ่ม back ตรงกลางคือปุ่มโฮมที่หากกดค้างไว้จะเป็นการเปิดใช้งาน Google Now ส่วนปุ่มขวาสุดคือปุ่ม Recent Apps ครับ

ส่วนของหน้าจอแสดงผล เท่าที่ผมรีวิว Acer Liquid Z3 มา การแสดงผลของจอก็ใช้งานได้ในระดับหนึ่งครับ ถ้าใช้งานในที่ร่มนั้น สมารถใช้งานได้ดีทีเดียว แต่ถ้ากลางแจ้งก็คงลำบากนิดหน่อย เพราะกระจกจอค่อนข้างจะสะท้อนแสงพอสมควร มุมมองด้านข้างก็ถือว่าทำได้ดีเลย สำหรับพาเนลจอแบบ TFT ส่วนด้านของความละเอียดจอ ถ้าหากคุณเคยใช้งานสมาร์ทโฟนที่จอความละเอียดสูงมาก่อน แล้วมาเจอจอความละเอียด 480 x 320 ของ Acer Liquid Z3 ก็คงจะรู้สึกว่าภาพมันแตก ไม่ค่อยสวยเท่าไร แต่สำหรับผู้ที่เริ่มเปลี่ยนการใช้งานจากฟีเจอร์โฟนที่จอเล็กกว่านี้มาเป็น สมาร์ทโฟน ก็ไม่น่าจะมีปัญหามากนัก แถมถ้าหากอัดความละเอียดจอให้สูงกว่านี้ ตัวอักษรและภาพที่แสดงบนจอก็คงจะเล็กกว่านี้ลงไปอีกแน่ๆ ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงมาก เพื่อที่จะให้ราคาขายไม่สูงเกินไป ง่ายต่อการซื้อหา ดังนั้นกับจอขนาด 3.5 นิ้ว ความละเอียด 480 x 320 จึงค่อนข้างจะเหมาะสมอยู่แล้ว

พลิกมาดูด้านหลังของ Acer Liquid Z3 กันบ้าง ฝาหลังทำมาจากพลาสติกแข็ง ผิวลื่น สีดำด้านๆ ให้สัมผัสที่นิ่มและเนียนมือ เนื่องด้วยตรงขอบเครื่องออกแบบมาให้เป็นขอบโค้ง ทำให้สามารถถือใช้งานได้สบายมือมากๆ ส่วนบนมีกล้องหลังความละเอียด 3 ล้านพิกเซลแบบ fixed focus คือไม่สามารถปรับจุดโฟกัสได้ ที่มีข้อดีคือสามารถใช้งานง่าย ถ่ายได้เร็วเพราะถ่ายไปตรงไหนก็ชัดหมด ขอแค่ให้ไม่ใกล้เกินระยะโฟกัสก็เพียงพอ เหมาะสำหรับถ่ายรูปทั่วๆ ไปที่ไม่จำเป็นต้องเน้นจุดใดจุดหนึ่งของรูปเป็นพิเศษ
ส่วนด้านล่างก็เป็นตำแหน่งของลำโพง โดยจุดที่น่าสนใจที่สุดก็คือโลโก้ dts ครับ เพราะนั่นหมายถึงว่า Acer Liquid Z3 มาพร้อมกับระบบเสียง DTS ในตัวนั่นเองครับ จัดว่าน่าสนใจทีเดียวกับสมาร์ทโฟนราคาไม่ถึง 3,000 บาท แต่มาพร้อมระบบเสียงคุณภาพที่มีเพียงไม่กี่รุ่นในตลาดเท่านั้นที่ใช้งานระบบ เสียง DTS ซึ่งจากที่รีวิว Acer Liquid Z3 มา ไม่ว่าจะทั้งฟังเพลงจากลำโพงของเครื่องหรือจากหูฟัง พบว่าเสียงอยู่ในระดับที่น่าพอใจทีเดียว แถมยังมีทูลปรับแต่งอย่าง DTS Sound ที่สามารถปรับระดับเสียง Equalizer, Bass และ Treble ได้ตามใจชอบ ช่วยให้ฟังเพลงได้สนุกดีเลย และแน่นอนว่าสามารถฟังวิทยุ FM ได้ด้วย แต่ต้องเสียบหูฟังด้วยนะครับ

เมื่อแกะฝาหลังออกมาดู ก็จะเห็นได้ชัดเลยว่าแผ่นปิดจอได้ถูกติดตั้งมากับฝาหลังเรียบร้อย ไม่สามารถแกะออกเองได้ นอกเสียจากว่าจะตัดออก ส่วนของตัวเครื่องนั้นก็จะพบกับแบตเตอรี่ Li-ion ความจุ 1500 mAh ก่อนเลย ซึ่งกับสมาร์ทโฟนเครื่องเล็กขนาดนี้ ก็ถือว่าไม่มากไม่น้อยจนเกินไปสำหรับการใช้งานธรรมดาทั่วไป ใต้แบตเตอรี่ก็มีช่องใส่ซิมการ์ดขนาดปกติ 2 ช่อง และช่อง microSD ตามมาตรฐาน
เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องฝาปิดจอหน่อยนะครับ ภายใต้ฝาไม่ได้มีการฝังแถบแม่เหล็กใดๆ ไว้ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้การปิดฝาจอเพื่อปิดหน้าจอ รวมไปถึงไม่สามารถเปิดฝาจอออก แล้วให้จอเปิดขึ้นมาเพื่อใช้งานได้ทันที ตัวฝาปิดจอมีหน้าที่แค่ “ปิดคลุมหน้าจอ” จริงๆ นะครับ ไม่ได้มีฟีเจอร์สั่งงานพิเศษใดๆ
ด้านข้างของ Acer Liquis Z3 ก็มีช่องเชื่อมต่อทั่วๆ ไป ไล่จากด้านบนจะมีปุ่ม Power และช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มิลลิเมตร ด้านล่างมีช่อง Micro USB สำหรับเสียบสายชาร์จ รวมไปถึงใช้ในการแงะฝาหลังออกมาด้วย ส่วนด้านข้างก็จะมีแต่ฝั่งขวาที่มีปุ่มเพิ่ม/ลดเสียงเท่านั้น

ขนาดตัวเครื่องค่อนข้างเล็กครับ สำหรับผู้ที่เคยใช้งานสมาร์ทโฟนจอใหญ่ๆ มาก่อน

ฟีเจอร์ที่น่าสนใจที่สุดในรีวิว Acer Liquid Z3 ครั้งนี้ก็คือ Quick Mode นี่ล่ะครับ เพราะมันคือฟีเจอร์ที่ออกแบบมาให้เหมาะสำหรับผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนแต่ละกลุ่ม ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของ Acer Liquid Z3 โดยจะเป็นการปรับเปลี่ยนหน้าจอแสดงผลให้เป็นไปตามรูปแบบที่เหมาะสมต่อการใช้ งานและความต้องการของผู้ใช้แต่ละกลุ่ม ซึ่งจะมี 4 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้
Basic Mode (ซ้ายบน)
เป็นโหมดที่ออกแบบมาสำหรับให้เด็กใช้ โดยบนหน้าจอจะมีไอคอนที่เราสามารถตั้งค่าเบอร์และชื่อผู้ติดต่อที่เราอยากจะ ให้เด็กโทรออก เช่น พ่อ แม่ ครู เป็นต้น ซึ่งการโทรออกก็ง่ายมาก เพียงแค่กดที่รูปไอคอน ก็จะสามารถกดโทรออกได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องกดเบอร์หรือหาจากสมุดรายชื่อ นอกจากนี้ยังสามารถส่ง SMS แบบฉบับเดียว หรือจะส่งแบบ forward ไปหลายๆ ฉบับพร้อมกันก็ยังได้
Senior Mode (ขวาบน)
โหมดนี้ออกแบบมาสำหรับให้ผู้สูงอายุใช้งาน เนื่องด้วยมีการจัดเรียงไอคอนบนหน้าจอเป็นแอพพลิเคชันที่จำเป็น เช่นการส่ง SMS, ฟังวิทยุ FM, ข้อมูลสภาพอากาศ, แว่นขยายสำหรับช่วยอ่านหนังสือ (ก็คือการเปิดใช้งานกล้องถ่ายรูปนั่นเอง) และแน่นอนว่าจะมีไอคอนทางลัดสำหรับโทรออกคล้ายกับใน Basic Mode ด้วย แม้ว่าเราอาจจะเห็นว่ามีแค่ 3 ไอคอน แต่อันที่จริงแล้ว เราสามารถเลื่อนแถบไอคอนแถวนั้นไปซ้าย/ขวาได้ โดยเราสามารถตั้งค่าเบอร์โทรได้สูงสุด 10 เบอร์ด้วยกัน หรือถ้าต้องการจะกดเบอร์ตามแบบปกติ ก็สามารถกดที่ไอคอนรูปโทรศัพท์ด้านล่างได้เช่นเคย
Keypad Mode (ซ้ายล่าง)
สำหรับผู้ที่เพิ่งเปลี่ยนจากฟีเจอร์โฟนมาใช้งานสมาร์ทโฟนเป็นครั้งแรก น่าจะเหมาะกับโหมดนี้ครับ เพราะจะมีการแสดงปุ่มตัวเลขให้สามารถกดใช้ได้เลยตั้งแต่หน้าแรก พร้อมกับยังมีไอคอนแอพจำเป็นมาให้ใช้งานอีกด้วย ซึ่งก็น่าจะช่วยปรับรูปแบบการใช้งานจากฟีเจอร์โฟนมาเป็นสมาร์ทโฟนได้ในระดับ หนึ่ง
Classic Mode (ขวาล่าง)
ส่วนโหมด Classic ก็เป็นการใช้งานในรูปแบบสมาร์ทโฟนนี่ล่ะครับ แต่จะจัดเรียงไอคอนแอพเป็นหมวดหมู่ให้สามารถค้นหาได้ง่าย เช่นแบ่งเป็นหมวด Utilities, Social, Internet, Media, Info Center ทั้งรูปแบบการใช้งานก็สามารถทำได้เหมือน Android หน้าตาปกติ เช่นสามารถโหลดแอพจาก Play Store ได้ด้วย เหมาะสำหรับคนที่อยากใช้สมาร์ทโฟนแบบง่ายๆ แถมอินเตอร์เฟสก็ดูใหญ่ สบายตา รับรองว่าใช้ได้กับทุกวัยแน่นอน

สำหรับใครที่กลัวว่า ตั้งค่า Quick Mode ให้กับคนที่เราซื้อ แล้วเขาจะไปกดเปลี่ยนโหมด เปลี่ยนการตั้งค่าตามใจชอบ อันนี้ก็หมดห่วงไปได้เลยครับ เพราะถ้าหากใช้งาน Quick Mode อยู่ แล้วต้องการจะปรับการตั้งค่า ก็จำเป็นจะต้องใส่รหัสผ่าน 4 ตัวก่อนทุกครั้ง ซึ่งรหัสผ่านชุดนี้ ระบบจะบังคับให้ตั้งเอาไว้ตั้งแต่เปิดใช้งาน Quick Mode ครั้งแรกอยู่แล้ว

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

Digital On TV



ตลอดปีนี้ทั้งปีเราคงเห็นคำว่า “ทีวีดิจิตอล” ตามหน้าสื่ออยู่บ่อยๆ นะครับ เท่าที่ผมลองถามคนรอบตัวก็พบว่าคนยังเข้าใจหรือไม่รู้จักคำว่า “ทีวีเยอะมาก ผมก็ขอใช้พื้นที่ตรงนี้ช่วยให้ข้อมูลและอธิบายว่ามันคืออะไรกันแน่นะครับ

ก่อน อื่นต้องย้อนไปยังระบบทีวีในปัจจุบันที่เรานิยมเรียกกันว่า “ฟรีทีวี” ทั้งหกช่องเสียก่อน ฟรีทีวีเหล่านี้ออกอากาศด้วยคลื่นที่ส่งผ่านอากาศ จากเสาโทรทัศน์ต้นใหญ่ๆ ที่อยู่ตามภูเขาสูง ไปยังเสาก้างปลาหรือว่าเสาหนวดกุ้งตามบ้านเรือน วิธีการส่งคลื่นแบบนี้มีชื่อเรียกทางเทคนิคว่า “ทีวีภาคพื้น” ภาษาอังกฤษเรียก Terrestrial Broadcasting ซึ่งก็มีความหมายตรงตัวว่าคลื่นส่งไปมากันบนผิวโลก ไม่ได้ส่งขึ้นอวกาศแล้วยิงลงมาแบบดาวเทียม

ระบบทีวีภาคพื้นของบ้าน เราในปัจจุบันใช้การเข้ารหัสแบบแอนะล็อกซึ่งถูกคิดค้นมานานหลายสิบปีแล้ว การเข้ารหัสแบบแอนะล็อกมีข้อเสียคือการส่งสัญญาณทีวีหนึ่งช่องต้องใช้ช่วง คลื่นกว้างมาก ทำให้มีจำนวนช่องน้อยเพราะคลื่นมีจำกัด (และเป็นเหตุผลข้อหนึ่งว่าทำไมเมืองไทยถึงมีฟรีทีวีแค่หกช่อง) นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องคลื่นรบกวนจนสัญญาณภาพไม่ชัดในบางพื้นที่อีกด้วย

เมื่อเทคโนโลยีด้านการส่งสัญญาณทีวีพัฒนามากขึ้น จึงเกิดวิธีการส่งสัญญาณทีวีแบบใหม่ขึ้นมา 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

กลุ่ม แรกสุดคือทีวีผ่านดาวเทียมที่ทุกคนคงคุ้ยเคยกันดีอยู่แล้ว ข้อดีของมันคือมีจำนวนช่องได้มาก ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศไทย (และไปไกลถึงประเทศเพื่อนบ้าน) แต่ก็จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มทั้งจานดาวเทียม และกล่องรับสัญญาณดาวเทียม ซึ่งปัจจุบันมีขายแพร่หลายทั่วไป เสียค่าใช้จ่ายหลักหนึ่งพันถึงสามพันบาทแล้วแต่จำนวนและความสามารถของ อุปกรณ์

กลุ่มที่สองคือเคเบิลทีวี หรือทีวีที่ส่งสัญญาณตามสายเคเบิลที่พาดบนเสาไฟฟ้า ทีวีระบบนี้มีจำนวนช่องได้มาก ไม่มีปัญหาฝนตกแบบดาวเทียม แต่มีปัญหาเรื่องพื้นที่ให้บริการอาจจำกัด และอาจต้องมีกล่องรับสัญญาณแบบดาวเทียมด้วยในบางกรณี

กลุ่มที่สามคือ “ทีวีดิจิตอล” ที่เราสนใจนั่นเองครับ อธิบายแบบสั้นๆ มันคือการส่งสัญญาณภาคพื้นแบบเดิม แต่เปลี่ยนมาเข้ารหัสแบบดิจิตอลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเยอะ โดยคลื่นที่เคยให้บริการช่องแอนะล็อกได้ 1 ช่อง สามารถส่งสัญญาณแบบดิจิตอลได้ถึง 40-50 ช่อง (กรณีของ กสทช. คือ 48 ช่อง) เปิด
โอกาสให้มีช่องรายการใหม่ๆ ได้มากขึ้นมาก นอกจากนี้การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลยังมีปัญหาเรื่องคลื่นรบกวนน้อยลง ภาพจึงคมชัดขึ้นตามไปด้วย

ทีวี ดิจิตอลใช้หลักคิดแบบเดียวกับทีวีแอนะล็อกในปัจจุบัน ส่งสัญญาณภาพและเสียงไปในอากาศ ใครจะดึงสัญญาณไปรับชมก็ไม่ปิดกั้น และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่ต้องเสียค่าสมาชิกแรกเข้าหรือรายเดือนเหมือนเคเบิลทีวีหรือดาวเทียม สถานีทีวีก็หารายได้จากการโฆษณาตามปกติ  ส่วนรายการพรีเมียมแบบเก็บเงินก็ไปฉายบนเคเบิลทีวีหรือดาวเทียมแทน ซึ่งประชาชนที่สนใจรับชมก็เลือกซื้อหรือจ่ายเงินกันเองโดยที่รัฐไม่เข้าไป ยุ่งเกี่ยว

สรุปง่ายๆ ว่าทีวีดิจิตอลถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้แทนทีวีแอนะล็อก เนื่องจากรูปแบบการทำงานเหมือนกันทุกประการ แต่คุณภาพดีกว่ากันมาก มีจำนวนช่องได้เยอะขึ้น ดังนั้นทุกประเทศที่ใช้ทีวีแบบแอนะล็อกจึงต้องการเปลี่ยนระบบการแพร่สัญญาณ มาเป็นดิจิตอลให้หมด เพื่อนำคลื่นความถี่ที่มีจำกัดไปใช้ประโยชน์ในเรื่องอื่นๆ แทน

แต่ เนื่องจากการแพร่ภาพด้วยระบบดิจิตอล จำเป็นต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ทั้งฝั่งขาส่ง (สถานีทีวี) และขารับ (เครื่องทีวีต้องมีตัวถอดสัญญาณดิจิตอล) ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและงบประมาณพอสมควร เพราะทีวีเก่าๆ ย่อมไม่มีภาครับสัญญาณตัวนี้มาให้ด้วย

ทางออกที่ทุกประเทศใช้แก้ ปัญหาคือแพร่ภาพทั้งสองระบบ (แอนะล็อกและดิจิตอล) ควบคู่กันไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง (มีตั้งแต่ 5-15 ปีแล้วแต่ประเทศ) และประกาศล่วงหน้านานๆ ว่าจะหยุดการแพร่ภาพระบบแอนะล็อกเมื่อใด เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ในอีกทางหนึ่งก็นำงบประมาณภาครัฐมาสนับสนุนให้ประชาชนซื้อกล่องแปลงสัญญาณ ดิจิตอลในราคาถูกกว่าท้องตลอด (ราว 300-500 บาท) เพื่อเร่งให้คนพร้อมใช้ระบบดิจิตอลมากขึ้น

น่าเสียดายว่ากระบวนการ แพร่ภาพระบบดิจิตอลของประเทศอื่นๆ เริ่มกันไปนานมากแล้ว (10-15 ปีก่อน) กรณีของประเทศไทยล่าช้าเนื่องจากไม่สามารถตั้ง “กสช.” ที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านวิทยุโทรทัศน์ได้ด้วยปัญหาเรื่องกฎหมาย กว่าจะมาทำสำเร็จก็ต้องรอถึงยุคของ “กสทช.” ที่รวมหน่วยงานด้านโทรคมนาคมกับวิทยุโทรทัศน์เข้าด้วยกัน ผลคือการผลักดันดิจิตอลทีวีของบ้านเราจึงช้ากว่าประเทศอื่นๆ ถึงสิบกว่าปี

เวลา นานขนาดนั้นย่อมทำให้ภาคเอกชนที่ต้องการทำสถานีทีวีของตัวเอง (นอกเหนือจากฟรีทีวีทั้งหกช่อง) ย่อมรอไม่ไหว และหันไปทำทีวีในระบบอื่นๆ ทั้งเคเบิลและดาวเทียมกันไปก่อน ผลคือความจำเป็นของการมีทีวีดิจิตอลในบ้านเรา ณ พ.ศ. นี้ จึงอาจน้อยลงไปหน่อยเมื่อเทียบกับ 10-15 ปีก่อน เนื่องจากประชาชนหนีไปดูดาวเทียม-เคเบิลทีวีกันเยอะแล้วนั่นเองครับ (แต่ทีวีดิจิตอลก็ยังจำเป็นต้องทำอยู่ดีครับ)

ปี 2556 ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่ กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลจะเริ่มผลักดันทีวีดิจิตอลสักที โดย กสทช. จะนำคลื่นทีวีที่ว่างอยู่ช่วงหนึ่งมาจัดสรรให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนมาทำทีวีดิจิตอล เพื่อฉายควบคู่กับระบบแอนะล็อกเดิมต่อไป ส่วนรายละเอียดเรื่องวิธีการแบ่งคลื่นทีวีของ กสทช. ผมจะมาขยายความต่อในสัปดาห์หน้าครับ

kd: http://www.thairath.co.th/content/336468